เอื้องขวด / -

ประวัติการค้นพบ: ตีพิมพ์ครั้งแรกชื่อ Bulbophyllum bokorense โดย François Gagnepain นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1950 ต่อมา ได้มีการศึกษาทบทวนและย้ายมาอยู่ในสกุล Plocoglottis จึงเปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Plocoglottis bokorensis โดย Gunnar Seidenfaden เอกอัครราชทูตและนักพฤกศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1979 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ต้นสูงได้ถึง 50 เซนติเมตร ลำลูกกล้วยขนาดใหญ่ คล้ายขวด มีหลายข้อ สีม่วงคล้ำ ใบรูปรีจนถึงรูปหอก ขนาด 3.5x8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเป็นกาบ มีอายุฤดูเดียว ช่อดอกเป็นช่อกระจะ ดอกขนาด 1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปรี กลีบเลี้ยงคู่ข้างมีขนาดใหญ่กว่ากลีบเลี้ยงบน กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ทั้งห้ากลีบสีเหลืองและมีจุดสีม่วงแดงจำนวนมาก ปลายแหลม กลีบปากรูปไข่กลับ ปลายกลีบพับลงจนดูคล้ายปลายตัด กลีบสีเหลือง โคลนกลีบมีแต้มสีแดง เส้าเกสรสั้น ใต้แอ่งเกสรเพศเมียเป็นแถบสีม่วงแดงรูปตัววี (V) นิเวศวิทยา: กล้วยไม้ดินขนาดใหญ่ พบในป่าดิบเขา ตามที่ร่มสีแสงแดดรำไรถึงค่อนข้างมืดครึ้ม ดินร่วนปนทราย ที่ความสูง 1,000-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล การกระจายพันธุ์: ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: สลิล สิทธิสัจธรรม. 2522. หนังสือกล้วยไม้ป่าเมืองไทย. กรุงเทพฯ : บ้านและสวน. 377


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Plocoglottis bokorensis (Gagnep.) Seidenf.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง